WeChat ID :
ครั้งก่อนผมได้พูดถึงรูปแบบบริการหลังการเช่า
ที่เป็น Property Management (PM)
และ Tenant Management Service (TMS)
หลายคนสงสัยว่า
บริการ 2 อย่างนี้ต่างกันอย่างไร
.
คำว่า PM กับ TMS ฟังดูคล้ายกัน
แต่จริงแล้ว
ขอบเขตหน้าที่แตกต่างกันพอสมควร
เดี๋ยววันนี้จะมาเทียบความแตกต่างแบบชัด ๆ
.
Property Management (การบริหารจัดการทรัพย์สิน)
ขอบเขตงานค่อนข้างกว้าง
ครอบคลุมทุกด้านของอสังหาฯ
เน้นดูแลทรัพย์สินแบบองค์รวม
เช่น อาคาร บ้าน คอนโดมิเนียม หอพัก
หรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
ตัวอย่างงานที่เกี่ยวข้อง:
เก็บค่าเช่า
จัดทำใบแจ้งหนี้
จัดการบำรุงรักษาและซ่อมแซม
(ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว)
ตรวจสอบสภาพทรัพย์สินอย่างสม่ำเสมอ
วางแผนงบประมาณ
ดูแลบัญชี และรายงานการเงิน
การหาผู้เช่าใหม่
ทำสัญญาเช่า
รับมือกับข้อร้องเรียนและจัดการข้อพิพาท
ประสานงานกับผู้รับเหมา
บริษัทดูแลสวน
หรือระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ
.
เน้นการดูแล "ทรัพย์สิน" เป็นหลัก
เช่น คอนโดทั้งอาคาร, วิลล่าให้เช่าทั้งหลัง, หรืออพาร์ตเมนต์ทั้งโครงการ
.
.
Tenant Management Service (บริการดูแลผู้เช่า)
ขอบเขตแคบกว่า
เน้นเฉพาะการดูแล "ผู้เช่า" เป็นหลัก
.
ตัวอย่างงานที่เกี่ยวข้อง:
ประสานงานกับผู้เช่าเรื่องปัญหาต่าง ๆ
เช่น ไฟดับ, น้ำรั่ว, ฯลฯ
ตอบคำถามหรือให้ข้อมูลผู้เช่า
ช่วยจัดการเรื่องเอกสารเช่นการต่อสัญญา
ดูแลการเข้า-ออกของผู้เช่า
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้เช่า
(ในกรณีที่ดูแลหลายยูนิต)
.
บางกรณีอาจรวมถึงบริการแนะนำไลฟ์สไตล์
เช่น บริการแม่บ้าน ซักรีด ฯลฯ
.
มักใช้ในกรณีที่เจ้าของปล่อยเช่าระยะยาว
และไม่อยู่ในพื้นที่เอง
เช่น เจ้าของต่างชาติที่มีคอนโดปล่อยเช่าในไทย
.
Property Management
ขอบเขต : กว้าง (ดูแลทั้งทรัพย์สิน)
เป้าหมายหลัก : รักษาสภาพทรัพย์สินและผลตอบแทน
เหมาะกับ : เจ้าของที่ไม่ต้องการยุ่งเองเลย
.
Tenant Management Service
ขอบเขต : แคบ (ดูแลผู้เช่า)
เป้าหมายหลัก : สร้างความพึงพอใจให้ผู้เช่า
เหมาะกับ : เจ้าของที่จัดการทรัพย์สินเอง แต่อยากให้คนดูแลผู้เช่า
.
.
.
เรทค่าจ้างของ PM กับ TMS นั้น
จะแตกต่างกันตามขอบเขตงานที่ทำ
และโดยทั่วไป
ค่าบริการ PM จะสูงกว่า
เพราะดูแลครอบคลุมมากกว่า
ส่วน TMS จะคิดถูกกว่า
เพราะดูแลแค่ฝั่งผู้เช่าเท่านั้น
.
เรทค่าบริการ PM โดยทั่วไป (ในไทย):
.
คิดอยู่ที่ 5% – 10% ของค่าเช่ารายเดือน
หรือคิดเป็นเหมาเดือน
เดือนละ 5,000 – 25,000 บาท
แล้วแต่ขนาดทรัพย์สิน
.
ความซับซ้อน
และประเภทอสังหาฯ
เช่น คอนโด 1 ห้อง
กับอาคารสำนักงานหลายชั้น
จะมีเรทที่แตกต่างกัน
.
กรณีอสังหาฯ ขนาดใหญ่หรือหลายยูนิต
อาจมีค่าบริการรายปี + ค่าดำเนินงานอื่น ๆ แยกต่างหาก เช่น ค่าดูแลสวน ค่าช่างระบบ ฯลฯ
.
.
เรทค่าบริการ TMS โดยทั่วไป (ในไทย)
.
คิดอยู่ที่ 2% – 5% ของค่าเช่ารายเดือน
หรือ คิดเหมาเดือนละ 1,500 – 5,000 บาท ต่อยูนิต
แล้วแต่ข้อตกลง
.
บางบริษัทอาจเสนอราคาพิเศษ
ถ้าเจ้าของมีหลายยูนิตในโครงการเดียวกัน
เช่น คอนโดหลายห้องในตึกเดียว
.
.
ยกตัวอย่าง
ถ้าคุณมีคอนโด 1 ห้องปล่อยเช่าเดือนละ 20,000 บาท:
.
Property Management
ค่าบริการอาจอยู่ที่ 1,500 – 2,000 บาท/เดือน
.
Tenant Management
อาจอยู่แค่ 800 – 1,200 บาท/เดือน
.
ซึ่งการทำงานของเอเจ้นท์ส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่
มันจะไปใกล้เคียงกับการทำงานแบบ TMS
ซึ่งเรทราคานี้
ก็ใกล้เคียงกับค่าคอมครึ่งเดือนในปีที่ 2
(ภาพรวมได้น้อยกว่าด้วย)
.
แต่มันต่างกันตรงที่
TMS คือมีการตกลงกัน
ในวันที่ทำสัญญาเช่า
และ TMS จะได้เงินวันนั้น
.
ส่วนที่ทำกันอยู่ปัจจุบัน
คือทำกันไปก่อนแบบฟรีๆ
แล้วไปลุ้นอีกทีในปีทีี 2
ว่าลูกค้าจะต่อสัญญามั้ย
และถึงเวลานั้น
เจ้าของจะยอมให้ค่าบริการเรารึเปล่า
.
ร่วมพูดคุยกันได้ที่