เมื่อความกลัวมีผลต่อสัญญาเช่า: หลักมนุษยธรรมที่เอเจ้นท์ควรรู้

แนวทางพิจารณาคืนเงินประกันผู้เช่าก่อนครบสัญญา ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม

post date  โพสต์เมื่อ 8 เม.ย. 2568   view 63553
article

1 ในประเด็นที่เจ้าของห้อง/นายหน้า/คนเช่า

มี conflict กันเกือบทุกเคส

คือผลกระทบจาก “ความกลัว” ของผู้เช่า

มากกว่าความเสียหายจริง

.

ในทางเทคนิคหรือกฎหมาย

คำว่า “หลักมนุษยธรรม” (Humanitarian Grounds)

เมื่อมาใช้ในบริบทการปล่อยเช่า

ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบ

.

เพราะการคืนเงินประกันก่อนครบสัญญา

ไม่ใช่แค่ตามอารมณ์หรือความสงสาร

แต่มีผลต่อความเชื่อมั่น ความยุติธรรม

และความมั่นคงของระบบเช่าโดยรวม

.

มีน้อง FC คนนึงเคยมาถามผม

เคยเห็นผมเขียนว่า

"ตามหลักก็ควรใช้ข้อตกลงตามกฏหมาย

แต่ก็ให้คำนึงถึงเรื่องมนุษยธรรมด้วย"

แล้วไอ่คำว่า #มนุษยธรรมของผม

พิจารณายังไง

.

โอเค!!!

เราสามารถวาง “หลักเกณฑ์พิจารณาด้านมนุษยธรรม”

ไว้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

.

✅ เกณฑ์พื้นฐานที่พอจะใช้พิจารณาได้

(อิงความสมเหตุสมผล ไม่ใช่แค่ความรู้สึกของผู้เช่า)

.

.

1. เหตุผลของการย้ายออก

“เกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยจริงหรือไม่”

มีข่าวสารหรือเหตุการณ์ใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับห้อง/ตึก

เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว โครงสร้างสั่น ฯลฯ

มีการรับรองจากนิติฯ หรือวิศวกรว่า "ปลอดภัยแน่นอน"

.

ถ้าหลักฐานยืนยันว่า "ปลอดภัย" แล้ว แต่ผู้เช่าไม่เชื่อ

ตรงนี้ควรพิจารณาว่าเป็น "ความกลัวส่วนบุคคล"

ไม่ใช่เหตุผลอันชอบธรรมในการ break สัญญาเช่า

.

.

2. ผู้เช่าได้รับผลกระทบทางจิตใจที่รุนแรงหรือไม่

(และสามารถแสดงหลักฐาน/อาการได้)

เช่น มีใบรับรองแพทย์ด้านจิตเวช

มีบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้เกิด PTSD

ถ้ามี -> อาจเข้าข่ายพิจารณาเป็น

“เหตุผลด้านมนุษยธรรมพิเศษ”

.

.

3. ผู้เช่ามีพฤติกรรมรับผิดชอบและให้ความร่วมมือมาโดยตลอดหรือไม่

.

✅Profile ลูกค้า

✅จ่ายค่าเช่าตรงเวลา

✅ไม่ค้างค่าน้ำ ค่าไฟ

✅ระหว่างพักอาศัยไม่เคยสร้างปัญหา

✅ดูแลรักษาห้องสภาพดี

✅แจ้งล่วงหน้าและยอมเสียบางส่วนเพื่อให้ไม่เป็นภาระ

.

ถ้าใช่...

อาจพิจารณาคืนเงินมัดจำบางส่วน

หรือช่วยเหลือในรูปแบบอื่น

.

.

4. ระยะเวลาที่เช่ามาแล้วนานพอหรือยัง

✅ถ้าเช่าเกิน 1 ปี และดูแลห้องดี → อาจพิจารณายืดหยุ่น

✅ถ้าเพิ่งเช่าไม่ถึง 6 เดือน → ไม่คืนหรือไม่ควรคืนเต็มจำนวน

.

.

ส่วนเคสที่ "ไม่ควร" คืนเงินประกันตามหลักมนุษยธรรม

❌ผู้เช่าทำลายห้องแต่โยนความผิดให้ “ความกลัว”

❌แจ้งย้ายออกกะทันหัน ไม่ให้เวลาหาคนใหม่

❌ไม่ให้ความร่วมมือเรื่องการตรวจเช็คห้อง

❌ปฏิเสธการให้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงอย่างไม่มีเหตุผล

.

📌 วิธีการบริหารจัดการที่ดี

ในฐานะคนกลาง

ควรมีบันทึกการพูดคุยเป็นลายลักษณ์อักษร

เช่น Line, Email ฯลฯ

เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างโปร่งใส

.

ส่วนการเจรจาเพื่อหาบทสรุปตรงกลาง

ที่อาจจะเป็นการถอยหลังคนละก้าว

เสนอมาตรการประนีประนอม เช่น

✅คืนบางส่วน

✅ผู้เช่าเก่ารับผิดชอบในการหาผู้เช่าใหม่ในเวลาที่กำหนด

✅หักเฉพาะค่าทำความสะอาด + ค่าบริหาร

.

ทั้งหมดนี้คือการที่ผมใช้เป็นหลักพิจารณา

ในการหารือร่วมกับเจ้าของห้อง

เพื่อให้เจ้าของห้องตัดสินใจอีกที

เพราะคนที่สามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด

คือเจ้าของทรัพย์สิน

.

เราในฐานะคนกลาง (เอเจ้นท์)

อาจจะเป็นการให้คำปรึกษา

และการให้หลักเกณฑ์การพิจารณา

อย่างมีเหตุมีผล

.

.

.

อย่างเคสวันนี้

เป็นเคสที่คอนโดแห่งนึงย่านสาทร

เป็นตึกสูงตึกนึง

ที่แทบไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวเลย

ตรวจเช็คสภาพห้องแล้ว คือดีมาก!!!

.

ผู้เช่าเป็นชาวอินเดีย

ทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่

แจ้งย้ายออก

ให้เหตุผลว่า"ไม่สบายใจที่จะอยู่ตึกสูงอีกต่อไป"

.

เมื่อเรานำหลักเกณฑ์ข้างต้นมาพิจารณาปรากฏว่า

❌ห้องไม่มีรอยร้าวหรือความเสียหายใดๆเลย

❌ผู้เช่าไม่ขอใช้หลักพิจารณาตามสัญญาที่เซ็น ให้ใช้หลัก relation แทน

❌ระยะเวลาการเช่า 6 เดือน (จาก 1 ปี)

❌ค้างค่าไฟ 1 เดือน ค้างค่าน้ำ 6 เดือน

❌ไม่เคยเจอผู้เช่าจริงเลย เจอแต่ตัวแทนผู้เช่าตลอด

❌ถ้าหาผู้เช่าใหม่มาแทนได้แล้ว ต้องคืนเงินประกันผู้เช่าเก่า

.

ทุกอย่างต้องมีเกณฑ์พิจารณาเป็นหลักยึดถือ

ถึงแม้อีกฝ่ายจะไม่พอใจขนาดไหน

แต่เราก็ต้องใจแข็งและเด็ดขาด

เพื่อให้ทุกอย่างมันจบ

ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อพิจารณาร่วมกับเจ้าของแล้ว

สรุป : ไม่คืนเงินประกัน

.

ร่วมพูดคุยกันได้ที่

https://www.facebook.com/Ex.MatchingProperty/posts/pfbid024aVcDWsDDMdXbS8xQb7kMNEbeZ96H2LRyDJ3Po1Eh79GSoyXRhEoQkSKrb8z77eQl

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)