WeChat ID :
ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ผู้เช่าและผู้ซื้อจำนวนมากเริ่มตั้งคำถาม
ว่าหากอาคารเกิดความเสียหายขึ้น
จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง
จะขอยกเลิกหรือเรียกค่าเสียหายจากใครได้หรือไม่
หรือจะต้องรับความเสี่ยงนั้นไว้เองทั้งหมด
.
ความจริงคือ
สิทธิในการเรียกร้องในกรณีแบบนี้
ไม่ได้ตรงไปตรงมา
หรือทำได้ง่ายนัก
โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์นั้น
จัดอยู่ในประเภท "เหตุสุดวิสัย"
เช่น แผ่นดินไหว
ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครควบคุมได้
.
ในกรณีของผู้ซื้อ
แม้จะเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ไปไม่นาน
ความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
ก็ถือว่าเป็นภาระความเสี่ยงของผู้ซื้อทันที
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้
ไม่ได้ระบุเจาะจงถึงภัยธรรมชาติ
แต่จะตีความจากหลักการทั่วไป
เช่น ความเสียหายเกิดขึ้นก่อนหรือหลังโอน
และใครเป็นผู้ละเลยในหน้าที่หรือไม่
.
ในฝั่งของผู้เช่า
แม้จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในตัวห้อง
แต่ก็มีสิทธิยกเลิกสัญญาหรือปฏิเสธค่าเช่า
หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า
ห้องนั้นไม่สามารถใช้งานได้จริง
และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัย
.
ความแตกต่างสำคัญอีกอย่างคือ
ภาระหน้าที่ในการซ่อมแซม
ซึ่งในกรณีผู้เช่า
เจ้าของต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยทั่วไป
แต่ในกรณีผู้ซื้อ
อาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอง
เว้นแต่จะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขาย
ในกรณีที่มีการปกปิดข้อเท็จจริง
.
สิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้าม
แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้จริง
คือ "ประกันภัย"
.
การทำประกันภัยสำหรับอาคาร
หรือแม้แต่ห้องชุดโดยเฉพาะ
สามารถช่วยลดภาระเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้
แต่ต้องตรวจสอบเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ชัดเจน
เพราะบางแผนไม่คุ้มครองเหตุการณ์จากภัยธรรมชาติ
หรือมีข้อยกเว้นบางประเภท
ที่อาจทำให้ไม่สามารถเคลมได้
.
การวางแผนรับมือความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้พัฒนาโครงการ
.
คุณภาพของตัวทรัพย์เอง
ก็เป็นอีกประเด็นที่ควรตรวจสอบซ้ำ
โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์แรง ๆ
ควรให้วิศวกรเข้าตรวจเช็กโครงสร้าง
เพื่อประเมินว่าห้องหรืออาคารนั้น
ยังสามารถใช้งานได้หรือไม่
ก่อนจะตัดสินใจว่าจะซ่อมหรือเลิกสัญญา
.
.
.
วันนี้จะสรุปกรณีพิพาก
ข้อกฎหมายและการปฏิบัติ
ที่ชาวคอนโดต้องรู้
หลังเหตุแผ่นดินไหว
ทั้งในมุมของเจ้าของ – ผู้ซื้อ/ผู้เช่า – เอเจ้นท์
.
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา
หลายคนที่อยู่คอนโด
หรือกำลังซื้อ–เช่า–ปล่อยเช่า
เริ่มมีคำถามว่า
ถ้าห้องหรืออาคารเสียหาย
จะคืนได้ไหม
จะยกเลิกสัญญาได้หรือเปล่า
หรือต้องทำยังไงกับนายหน้าที่รับคอมไปแล้ว
.
สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจก่อนว่า
บ้านเรายังไม่มีกฎหมายเฉพาะเรื่องแผ่นดินไหว
เราจึงต้องใช้กฎหมายทั่วไป เช่น แพ่งพาณิชย์
ในการตีความแต่ละสถานการณ์
.
ถ้าคุณเป็นฝ่ายซื้อ
และโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว
ไม่สามารถคืนห้องได้
ต่อให้เกิดรอยร้าวหลังโอน
ก็ไม่ถือว่าเป็นเหตุที่ขอยกเลิกดีลได้อัตโนมัติ
.
เว้นแต่ว่าจะพิสูจน์ได้ว่า
รอยร้าวหรือความเสียหายนั้น
มีอยู่ก่อนจะซื้อ
หรือโครงการรู้อยู่แล้วแต่ปกปิด
แบบนี้ถึงจะมีสิทธิฟ้องหรือขอคืน
.
แต่ถ้าเป็นรอยที่เกิดหลังจากแผ่นดินไหว
โดยที่ก่อนหน้านี้อาคารดูปกติดี
แบบนี้มักเข้าข่ายเหตุสุดวิสัย
ไม่สามารถโยนความผิดให้ผู้ขายได้
และไม่สามารถขอคืนเงินหรือยกเลิกสัญญาได้
.
อีกกรณีที่ต่างออกไปคือ
ถ้าคุณยังอยู่ในช่วงจอง
หรือยังไม่ได้โอนจริง
สามารถชะลอการโอนได้
ขอให้มีการตรวจสอบโครงสร้าง
หรือเจรจากับโครงการใหม่
.
.
.
ผู้เช่ามีสิทธิมากกว่าผู้ซื้อในบางจุด
เพราะผู้เช่าไม่ได้เป็นเจ้าของ
แต่เป็นผู้ใช้พื้นที่ชั่วคราว
.
ถ้าเกิดแผ่นดินไหวแล้วรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้
เช่น ผนังร้าวหนัก พื้นทรุด
หรืออาคารมีความเสี่ยงต่อชีวิต
สามารถขอยกเลิกสัญญาได้
.
แต่!!!!!ต้องมีหลักฐาน
ไม่ใช่แค่ #ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ในการชี้นำการตัดสินใจ
.
หลักฐานที่ว่า
เช่น รูปถ่าย ใบรายงานวิศวกร
หรือเอกสารจากนิติที่ยืนยันว่าโครงสร้างมีปัญหา
.
ถ้ามีสิ่งเหล่านี้
ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญา
หรือไม่จ่ายค่าเช่าในช่วงที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้
.
แต่ถ้าไม่มีหลักฐานใดๆ
หรือเป็นแค่รอยร้าวผิวเล็ก ๆ
ที่ไม่ได้กระทบการใช้งาน
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cosmetic Damage
.
เจ้าของมีสิทธิไม่ยกเลิกสัญญา
แต่ถ้าทางผู้เช่ายังต้องการที่จะย้ายที่อยู่
เจ้าของอาจยึดเงินประกันตามสัญญาได้
.
ควรดูสัญญาเช่าที่เซ็นไว้ด้วย
บางสัญญามีเงื่อนไขกรณีเกิดภัยธรรมชาติ
แต่ถ้าสัญญาเช่าไม่ได้ระบุตรงนี้ไว้
ต้องอาศัยเจรจาหรือพิจารณาตามกฎหมายกลาง
.
.
.
ถ้าคุณเป็นเจ้าของ
แล้วจ่ายค่าคอมเอเจ้นท์ไปแล้ว
คำถามคือ
ถ้าดีลล่มเพราะแผ่นดินไหว
สามารถเรียกเงินค่าคอมเอเจ้นท์คืนได้ไหม
.
ถ้าดีลนั้นจบแล้ว
เช่น เซ็นสัญญาเช่า
หรือโอนกรรมสิทธิ์เสร็จ
เอเจ้นท์ไม่ต้องคืนเงิน
เพราะเขาทำหน้าที่ครบแล้ว
แม้ภายหลังจะเกิดปัญหาก็ตาม
.
แต่ถ้ายังไม่จบ
ลูกค้ายังไม่เข้าอยู่ ยังไม่โอน
หรือถอนตัวไปก่อนเพราะเจอปัญหา
แบบนี้ต้องดูว่าในสัญญากับเอเจ้นท์
ระบุไว้ว่าอย่างไร
อาจจะเป็นการคืนค่าคอมทั้งหมด
หรือคืนครึ่งนึง
ก็แล้วแต่การตกลง
.
ถ้าระบุชัดว่า
“จะจ่ายค่าคอมต่อเมื่อดีลจบ”
แล้วดีลล่มก่อนหน้านั้น
เจ้าของสามารถขอคืนค่าคอมได้
หรือไม่ต้องจ่ายเลยถ้ายังไม่ได้จ่ายไป
.
แต่ถ้าดีลพร้อมปิด
ลูกค้าพร้อมโอนแล้ว
แต่เป็นเจ้าของที่เปลี่ยนใจไม่ขายเอง
เจ้าของไม่มีสิทธิขอคืนค่าคอม
เพราะเป็นฝ่ายยกเลิกเอง
.
บางกรณีที่เอเจ้นท์รับคอมทั้งสองฝั่ง
เช่น จากผู้ซื้อ/เช่า และเจ้าของ
แล้วดีลล่มเพราะเหตุสุดวิสัย
เอเจ้นท์มักไม่ต้องคืน
เว้นแต่ตกลงไว้ตั้งแต่แรกว่า
เจอเหตุแบบนี้ต้องคืนเงิน
.
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คนอยู่คอนโด
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ผู้ซื้อ ผู้เช่า หรือเอเจ้นท์
ควรรู้และเข้าใจให้ชัด
ก่อนจะเชื่อโพสต์ไวรัล
หรือคำแนะนำในโซเชียล
ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน
.
ถ้าเข้าใจโครงสร้างทางกฎหมาย
คุณจะรู้ว่าควรปกป้องสิทธิของตัวเองอย่างไร
และจะได้ไม่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินในภายหลัง
.
และในสังคมที่เต็มไปด้วยข่าวสารมากมาย
สิ่งที่ควรระวังไม่แพ้ความเสียหายที่ตามมา
ก็คือ “ความตื่นตระหนกจากข้อมูลผิด”
.
การแชร์โพสต์หรือคำแนะนำที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง
โดยเฉพาะเรื่องทางกฎหมาย
อาจนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาด
ทำให้ผู้เช่าหรือเจ้าของเสียสิทธิที่ควรได้
หรือเสียเวลาโดยไม่จำเป็น
.
ความรับผิดชอบในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
จึงเป็นเรื่องที่ทั้งสื่อ
คนในแวดวงอสังหา
รวมถึงเอเจ้นท์ต้องช่วยกันระวัง
.
ไม่ใช่แค่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
แต่เพื่อความมั่นคงของทั้งระบบ
ที่ต้องพึ่งพาความเชื่อมั่นจากคนทั่วไปด้วย
.
แต่สุดท้าย
ภัยพิบัติเป็นภัยธรรมชาติ
และแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เกิดขึ้นในประเทศไทย
คือมันเป็นเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
และไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใด
.
การมีกฏหมายระบุไว้
ถือว่าเป็นหลักการยึดการตัดสินใจได้ส่วนนึง
แต่สิ่งนึงที่ควรยึดมากกว่ากฏหมาย
คือความเห็นอกเห็นใจ
ในหลักมนุษยธรรม
ถ้าเรายังพอไหว
การส่งมอบบางสิ่งให้อีกฝ่ายได้หายใจ
ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ
.
การลงทุนอสังหานั้นมีความเสี่ยง
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ก็ถือว่าเป็น 1 ในความเสี่ยง
ที่เจ้าของควรยอมรับตรงนี้ด้วย
.
การจะบี้ไล่ยึดเงินประกันผู้เช่า
หรือขอคืนค่าคอมเอเจ้นท์
ก็ต้องดูบริบททั้งหมด
และคิดให้ถี่ถ้วน
.
ร่วมพูดคุยกันได้ที่