ใครรับผิดชอบอะไร? เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นกับคอนโดหรือบ้านเช่า

รู้ทันสิทธิ์และหน้าที่ของ

post date  โพสต์เมื่อ 29 มี.ค. 2568   view 42568
article

แต่เดิมประเทศไทย

ไม่ได้อยู่ในพื้นที่

ที่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

จึงไม่ได้มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยเท่าญี่ปุ่น

.

แต่ก็ไม่ใช่ 0 %

ที่ประเทศไทยจะไม่เกิดแผ่นดินไหว

อย่างวันนี้ก็มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว

.

หลายคน inbox มาถามถึงประเด็นที่น่าชวนคุย

ซึ่งวันนี้อยากจะมาพูดถึง

เรื่องของขอบเขตความรับผิดชอบ

ในระหว่างการเช่าคอนโด,บ้านและสิ่งปลูกสร้าง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น

.

เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ

อย่างเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนี้แล้ว

ในสิทธิ์ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า

จะต้องรับผิดชอบส่วนใด

.

ซึ่งหลักการความรับผิดชอบโดยทั่วไป

ในเรื่องของการเกิดเหตุภัยพิบัตินั้น

#จำเป็นที่จะต้องระบุอยู่ในตัวสัญญาเช่าด้วย

ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

ควรจะแบ่งความรับผิดชอบกันอย่างไร

.

ในตัวสัญญาของทางบริษัทผม

ผมจะสรุปสั้นๆให้เข้าใจง่ายดังนี้

.

#ความรับผิดชอบในส่วนของผู้ให้เช่า

✅รับผิดชอบในส่วนของโครงสร้างอาคาร

ถ้าเกิดมีความเสียหาย

เช่น ฝ้าพัง ผนังร้าว ท่อน้ำแตก

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดมาพร้อมกับห้อง

บิ้วอินที่เกิดความเสียหาย

.

✅หากทรัพย์สินเสียหาย

จนไม่สามารถใช้งานได้

อาจต้องพิจารณาการยกเลิกสัญญา

/คืนเงินประกัน/ลดค่าเช่าชั่วคราว

ในระหว่างการซ่อมกลับคืนมาให้เป็นปกติ

.

✅การเคลมประกันความเสียหาย

ส่วนนิติบุคคลของโครงการ

มักจะทำประกันภัยทรัพย์สินเฉพาะส่วนกลาง

เช่น ทางเดิน ลิฟต์ บันไดหนีไฟ ลานจอดรถ

ซึ่งไม่รวมถึงที่พักอาศัยของเจ้าของร่วม

.

ดังนั้นในส่วนของตัวเจ้าของเอง

อาจจะต้องมีการทำประกันภัยทรัพย์สิน

เฉพาะพื้นที่ของตัวเองไว้ต่างหาก

เพื่อนำไปเคลมกับประกันภายหลัง

.

❌ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย

หรือความสูญเสียใดๆของผู้เช่า

ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้เช่า

รวมถึงผู้เช่าและบริวารของผู้เช่า

ที่อยู่ภายในทรัพย์สินให้เช่า

.

.

.

#ความรับผิดชอบในส่วนของผู้เช่า

✅ทรัพย์สินส่วนตัวภายในที่เช่า

ของใช้ เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ที่ผู้เช่านำเข้ามา

หากไม่ได้ทำประกันไว้

ผู้เช่าต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง

.

✅การแจ้งเหตุ

ผู้เช่าควรรีบแจ้งผู้ให้เช่าทันที

เมื่อเกิดเหตุเพื่อให้มีการประสานงาน ซ่อมแซม

หรือขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว

.

✅การใช้งานพื้นที่อย่างระมัดระวัง

หากความเสียหายทางภัยพิบัติ

เกิดจากการกระทำที่ประมาทของผู้เช่า

เช่น จุดไฟทิ้งไว้

ถึงแม้จะเกิดภัยธรรมชาติ

แต่ถ้าเราเป็นต้นเหตุ

ผู้เช่าอาจต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น

.

❌ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย

หรือความสูญเสียใดๆที่เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร

และสิ่งของที่ติดมาในทรัพย์สินก่อนเกิดสัญญาเช่า

.

.

.

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสามัญทั่วไป

ที่ต่างคนต่างต้องรับผิดชอบในทรัพย์สินของตัวเอง

แต่ก็ไม่วายที่จะเห็นใครอีกหลายคน

พยายามจะผลักภาระ

และความรับผิดชอบทุกอย่างไปให้อีกฝ่าย

.

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดข้อกรณีพิพาก

เคสการเกิดเหตุภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาตินี้

ควรระบุไปในสัญญาเช่าทุกอย่าง

ควรกำหนดในสัญญาให้ชัดเจนว่า

ในกรณีภัยพิบัติใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

.

✅ใครรับผิดชอบด้านไหน ส่วนไหน

✅ทรัพย์สินมีประกันภัยครอบคลุมหรือไม่

✅วิธีการจัดการในกรณีที่ทรัพย์ใช้การไม่ได้ชั่วคราว

✅กรณีใดที่ผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้โดยไม่เสียค่าปรับ

.

ซึ่งในสัญญาของทางบริษัท

ค่อนข้างครอบคลุมกับเรื่องนี้ทุกอย่าง

เพราะทางเราเคยเจอเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาแล้ว

เราจึงพยายามแก้ไขสัญญาให้รัดกุมในทุกสถานการณ์

.

.

.

ยังมีอีกหลายประเด็นที่ FC ทักเข้ามาสอบถาม

เช่น หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น

ตลาดคอนโดจะได้รับผลกระทบมั้ย

ราคาจะร่วงรึเปล่า

หรือนี่คือจุดเปลี่ยน

ให้เกิด Demand แนวราบเพิ่มขึ้น

.

ซึ่งประเด็นพวกนี้

ผมว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลง

อย่างเป็นนัยยะสำคัญขนาดนั้น

ไม่ต้องถึงขั้น Panic

จนต้องรีบโพสเทขายคอนโดนะครับ

.

แต่ตอนนี้เห็นได้ชัดว่า

โครงการไหนผลิต product ออกมาไม่ได้คุณภาพ

หมกเม็ดหรือลดสเปคเรื่องการก่อสร้างไว้

หรือโครงการไหนที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน

โปะ ปะๆ ซ่อน defect เป็นผักชีโรยหน้า

เพื่อให้ทันกำหนดการส่งมอบงาน

มันจะมาโป๊ะกันในเหตุการณ์นี้แหละ
.
📷 Generative AI image by ChatGPT
.
รวมพูดคุยกันได้ที่
https://www.facebook.com/Ex.MatchingProperty/posts/pfbid036oMYN9bhWFeKaqsj9WS6Nm7U8bWWySA2kNf5Wz8Wz6SeNio3hQ5AqnsGeTm9APXgl

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)