เอเจ้นท์ยุคใหม่ต้องรอด! ปรับตัวอย่างไรในวันที่ตลาดอสังหาฯ ไม่เหมือนเดิม

เมื่อแค่โพสต์ขายบ้านบน Marketplace ไม่พออีกต่อไป เอเจ้นท์ต้องรู้จักคัดทรัพย์ สร้างจุดเด่น และเข้าใจเกมที่เปลี่ยนไปของวงการอสังหาฯ

post date  โพสต์เมื่อ 23 มี.ค. 2568   view 218120
article

ตั้งแต่ต้นปี 2568
ถือว่าเป็นปีแห่งความขมขื่นในอสังหาอย่างแท้จริง
.
พี่ๆน้องๆเอเจ้นท์หลายคนคิดว่า
ตอนนี้ตลาดอสังหาค่อนข้างซบเซา
เลยต้องพยายามอัดฉีดงบการตลาดให้มากขึ้น
เพื่อหวังให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดีขึ้น
แต่สุดท้ายก็เงียบเหมือนเดิม
เจอแต่มิจมาทักมากขึ้นด้วยซ้ำ
.
คือปัญหามันไม่ได้อยู่ที่การตลาด
แต่ปัญหาคือเราต้องหาเวทีของตัวเองให้เจอ
ถ้ายังเล่นตลาดแบบ mass
รับ List ที่ไหนมาก็ได้
ไม่กำหนด zone ตัวเอง
ไม่กำหนด segment product ตัวเอง
เป็นเอเจ้นท์จับฉ่าย
ตอนนี้มันถึงจุดที่ยากจะไปต่อ
.
เพราะเรากำลังสู้กับ บ agent ต่างชาติที่ทุนหนามากๆ
เข้ามาตีตลาดบ้านเราอยู่
ไม่ว่าจะเป็นการ Recruit คนเข้ามาเป็น Agent จำนวนมาก
เน้นการปิดเคสให้ได้เงินเข้าบริษัท
ไม่เน้นการสอนเรื่องจรรยาบรรณในวิชาชีพ
พอจบเคสก็ทิ้งภาระไว้ให้กับ Co-Agent ที่ร่วมงาน
.
หรือเข้า take over ซื้อเว็บไซต์ขายอสังหา
เพื่อหวังกินรวบช่องทางสื่อโฆษณา
.
ถ้าเราสู้ด้วยเงินทุนอย่างเค้าไม่ได้
เราต้องเริ่มคัด list เข้า port ตัวเอง
ไม่ใช่เอามาลงไว้เยอะๆก่อน แล้วค่อยว่ากัน
โกยทุกอย่างเข้ามาไว้ก่อนโดยไม่คัดกรอง
พวกนี้กินพลังงานเราโดยใช่เหตุ
.
product ไม่ดี
เช่น ตกแต่งด้วยลายไม้ถูกๆ
สไตล์แต่งแบบหลงยุค
แต่งแบบ Mix แต่ไม่ Match
ปล่อยห้องตามสภาพ(เน่าๆ)
พวกนี้ตัดทิ้ง!!!
.
ตั้งราคาแบบไม่ปรึกษาไลน์กลุ่มลูกบ้าน
ราคาแพงแบบไร้สติ
ตัดทิ้ง!!!
.
product ดี
แต่เจ้าของหัวหมอ เหลี่ยมเยอะ
เงื่อนไขไม่เหมือนชาวบ้าน
ไม่ร้อนเงิน ไม่รีบขาย
ตัดทิ้ง!!!
.
วันนี้ย้อนกลับไปดู port ตัวเอง
lists ภาพรวมส่วนใหญ่เป็นอะไร
ยังเป็นคอนโดเช่าแบบ mass
ที่ยังเป็นโครงการทำเลกระจัดกระจายอยู่รึเปล่า
ยังคงทำ list ตั้งแต่ 6,000 ยัน 60 ล้านอยู่ใ่ช่มั้ย
ยังคงเป็น list ที่หาได้ตาม internet อยู่รึเปล่า
ยังคงเป็น list ที่ไม่ได้รู้จักเจ้าของเป็นคนส่วนตัวอยู่หรือไม่
ยังคงเป็น list ที่ไม่ได้ทำสัญญา Exclusive ใช่มั้ย
ถ้าส่วนใหญ่เข้าเกณฑ์นี้
บอกเลย…รอดยาก
ถึงไปต่อได้ ก็เหนื่อยมากๆๆๆๆๆ
.
ถ้าวันนี้เรายังไม่มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง
ยังไม่รู้ว่าเรามี stage ในการ shining ในทางไหน
เรายังไม่ใช่ the choose one ที่เค้าเรียกให้ดูแลบ้านเค้า
ยังไม่ใช่ the one ที่เค้าจะแนะนำเราให้คนอื่นแบบปากต่อปาก
.
เราก็ไม่ต่างกับเอเจ้นท์ทั่วไป
ที่ owner จะเรียกใช้เอเจ้นท์คนไหนก็ได้
เราก็จะเป็น nobody agent คนนึง
ที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการนี้แบบฉาบฉวย
แล้วก็ลาจากวงการไปในเวลาอันสั้น
.
Livinginsider / DDproperty / Facebook
หรือช่องทางออนไลน์ด้านใดก็ตาม
เป็นเพียงแค่ marketplace ช่องทางนึงไว้วางสินค้าเท่านั้น
.
แต่ในเมื่อทุกคนเข้าถึงพวกนี้ได้
แล้วอะไรคือความแตกต่างของเรากับ agent คนอื่นล่ะ
ถ้าไม่ใช่เรื่องของ product & segment ที่เราเลือกที่จะเล่น
#ปัญหามันอยู่ตรงนี้
.
ทุกวันนี้ผมค่อนข้างซีเรียสการคัดทรัพย์เข้า port บริษัท
เพราะมันไม่ใช่ทุกทรัพย์จะขายได้
ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจบ้านเรา
กลุ่มผู้ซื้อหายไปจากตลาดค่อนข้างมาก
ดังนั้นการที่จะขายบ้านได้แต่ละหลัง
ต้องใช้การแข่งขันค่อนข้างสูง
.
ไม่ว่าจะแข่งกันด้วยเรื่องทำเล
แข่งกันด้วยเรื่องราคา
หรือแม้กระทั่งแข่งกันด้วยเรื่องการตกแต่ง
คอนโดบางห้องนี่แต่งห้องกะชิงรางวัลเอาโล่ห์ทองคำด้วยซ้ำ
.
ทั้งหมดทั้งมวล
เราต้องหาจุดลงตัวของมันด้วย
.
ทำเลเทพแต่ product ไม่สมราคา
ตลาดก็ไม่ accept กับจุดนี้
.
ของเทพทำเลเทพ
แต่ราคาอวกาศ
ลูกค้าก็มองว่าไม่คุ้มค่า
.
แต่งเยอะ บิ้วเยอะ
ก็กลายเป็น Cost ที่แบกเอง
พอจะ discount ก็ลงยาก
.
ทุกวันนี้ผมก็จะได้รับสาย owner
นัดผมไปดูทรัพย์สิน
เพื่อขอคำปรึกษา
ว่าในเมื่อสถานการณ์ตลาดอสังหาเป็นแบบนี้
มันยังพอมีช่องทางที่จะขายได้มั้ย
.
และด้วยความที่เราเป็น Agent
เห็น product ใหม่ๆเข้าตลาดอยู่ทุกวัน
เราจะมีความรู้ในวงกว้าง
เราจะสามารถแนะนำแนวทางให้กับเจ้าของบ้านได้
ว่าการที่คุณจะขายบ้านให้ได้ในสถานการณ์แบบนี้
บ้านของคุณควรจะไปในทิศทางไหน
.
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสไตล์การตกแต่ง
ราคาจริงที่ผู้ซื้อยอมรับได้ในทำเลนี้
หรือแม้กระทั่งระยะเวลาที่คาดเดาได้(ถ้าขายในสภาพ)
.
การแนะนำคือการชี้แนะแนวทางเบื้องต้น
ไม่ได้บังคับว่าคุณจะทำหรือไม่
อันนี้เป็นสิทธิ์ของทางเจ้าของทรัพย์สินเลย
.
แต่สิ่งนึงที่นอกเหนือจากการประเมินทรัพย์สินแล้ว
นั่นคือการประเมินโอกาสในการปิดการขายได้
.
ในการเปิดบ้านแต่ละครั้ง
agent มีต้นทุนนะ
แต่หลายคนไม่ค่อยคิดถึงตรงนี้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งหน้า แต่งตัว
ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ ค่าเสื่อมสภาพของรถ
ค่ากาแฟ ค่าขนม ฯลฯ
มันคือสิ่งที่เราควรนำมาประเมินในการรับเคสด้วยนะ
เพราะมันคือค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มาเปิดบ้าน
.
ถ้าดูทรงแล้วต้องเปิดบ้านหลายครั้ง (มากกว่า 10)
ไม่ใช่ทำเลที่สะดวกในการเดินทางกับเราสักเท่าไหร่
จุดตำหนิมากกว่าจุดขาย
ก็ไม่ควรรับเข้า port บริษัท
.
ถ้าเห็นใครปังกับเคสใหญ่ เคสยาก
ปล่อยเค้าทำไป
เค้าอาจจะมีวิธีเฉพาะตัว
ในการจัดการเคสแบบนี้ได้
มันเป็นทางของเค้า
.
ผมเป็นคนที่กล้าพูดต่อหน้าลูกค้าว่า
“ผมขอ comment อย่างตรงไปตรงมา
อะไรไม่ถูกใจ ผมขออภัยนะครับ”
หรือ
“ผมยังไม่ขอรับบ้านหลังนี้เข้าบริษัทนะครับ”
.
นี่เป็นจุดเด่นของทางผมที่ยังคงมีลูกค้าแบบปากต่อปาก
และทุกวันนี้เราแทบจะไม่เสียเงินทางการตลาดเลย
เพราะเรามีช่องทางเข้าถึงทางธรรมชาติ
ในการให้ลูกค้ามาพบเจออย่างลับๆอยู่เสมอ
.
ร่วมพูดคุยกันได้ที่

https://www.facebook.com/Ex.MatchingProperty/posts/pfbid0Wiz5a3TSdLGLx6pKzpV9MA9UqmfJAepKoezs8jVxNePfFpevpRtMJSz8U82VaQZQl

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)