บ้านหรือรถ? สินสมรสหรือสินส่วนตัว – ไขข้อกฎหมายที่หลายคนสงสัย

กรณีศึกษาเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงานกับหลักกฎหมายว่าด้วยสินสมรสและสินส่วนตัว

post date  โพสต์เมื่อ 13 ก.พ. 2568   view 2484
article

เมื่อคืนเจอความน่าสนใจในกฏหมายอันนึง
เลยเอามาทายเล่นๆกับพวกเธอ
.
สมมติ นาย A กับ นาง B เป็นแฟนกัน
วันที่ 1 มกราคม 2568
นาย A ได้ทำการซื้อรถยนต์
เอารถเข้าไฟแนนซ์เป็นชื่อนาย A
และนาย A เป็นคนผ่อน
.
อีก 2 เดือนถัดมา
วันที่ 1 มีนาคม 2568
นาย A ได้ทำการซื้อบ้าน
โดยเป็นการขอสินเชื่อแบงค์
โอนธุรกรรมที่กรมที่ดินจนจบเรียบร้อย
ชื่อเป็นของนาย A
และนาย A เป็นคนผ่อนเช่นกัน
.
3 ปีผ่านไป
วันที่ 1 พฤษภาคม 2570
นาย A ได้ขอนาง B แต่งงาน
และจดทะเบียนสมรสที่เขต
.
ผ่านมาอีก 2 ปี
วันที่ 1 มิถุนายน 2572
นาย A ได้ผ่อนค่างวดรถ
และผ่อนบ้านจนหมด
นาย A ได้เล่มรถและโฉนดมาไว้ที่ตัวเรียบร้อย
.
ผ่านมาอึก 3 ปี (2575)
นาง B พบว่า
นาย A แอบเล่นชู้กับแมวข้างบ้าน
จึงจ้างทนายฟ้องหย่า
และต้องการแบ่งทรัพย์สินกับนาย A
.
คำถาม : บ้านกับรถถือเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส?
.
.
.
ก.บ้านและรถเป็นสินส่วนตัว
ข.บ้านเป็นสินส่วนตัว รถเป็นสินสมรส
ค.บ้านเป็นสินสมรส รถเป็นสินส่วนตัว
ง.บ้านและรถเป็นสินสมรส
จ.ไม่รู้ เป็นแค่แมวข้างบ้าน ถูกทุกข้อละกัน
.
ตอนค่ำมาเฉลย
ความยาก : ⭐️⭐️⭐️⭐️
.
.
.
 

เฉลย ข้อ ข

#บ้านเป็นสินส่วนตัว #รถเป็นสินสมรส

.

มองเผินๆ

เหมือนจะเป็นการทำธุรกรรม

ที่นาย A ต้องผ่อนชำระงวดเหมือนกัน

แต่ต้นทางของการทำธุรกรรมนั้นต่างกัน

.

การที่นาย A ได้รถมาขับนั้น

ในรายละเอียดของการซื้อรถ

เป็นสัญญาแบบ"เช่าซื้อ"

.

นั่นคือการที่นาย A

จะเป็นเจ้าของรถได้นั้น

จะต้องผ่อนจนครบงวดก่อน

รถถึงจะเป็นของนาย A

ระหว่างผ่อนจะยังเป็นของไฟแนนซ์อยู่

.

ดังนั้นรถจะเริ่มนับเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย A

ต่อเมื่อนาย A ผ่อนจนงวดจนหมด

และได้เล่มรถมา

ซึ่งอยู่ในช่วงที่นาย A แต่งงานแล้วพอดี

.

รถจึงถือทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างแต่งงาน

#รถจึงถือเป็นสินสมรส

.

.

.

ส่วนบ้านนั้น

เวลาไปทำธุรกรรมซื้อขายที่กรมที่ดิน

เมื่อมีการสลักหลังโฉนดเกิดขึ้น

ถือว่าเป็นการซื้อขายที่สมบูรณ์แล้ว

และแบงค์ก็มารับจำนองต่อไปอีกที

.

คือนาย A ได้โฉนดมาแล้ว

แต่นาย A ส่งต่อโฉนดให้แบงค์

เพื่อให้แบงค์ออกเงินให้กับเจ้าของเก่า

และนาย A ไปผ่อนแบงค์ต่ออีกที

.

เวลาดูสลักหลังโฉนด

เราจะเห็นว่า

.

เจ้าของเก่า > ขาย > นาย A

.

และในวันเดียวกันนั้น

.

นาย A > จำนอง > แบงค์

.

อีกบรรทัดนึง

.

ดังนั้นแบงค์มีสถานะเป็นเจ้าหนี้

มิใช่เจ้าของทรัพย์สิน

.

เว้นเสียแต่ว่านาย A ไม่ส่งงวด

เกิน 6 เดือนขึ้นไป

แบงค์เจ้าหนี้ถึงจะฟ้องร้อง

เพื่อยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้

ในลำดับถัดไป

.

ถ้าทรัพย์เป็นของแบงค์

แบงค์คงไม่ต้องฟ้องร้องนาย A เพื่อยึดมา

ต่างกับไฟแนนซ์ยึดรถ

.

ธุรกรรมนี้เกิดขึ้นก่อนจากที่นาย A

จดทะเบียนสมรส

จึงถือเป็น #สินส่วนตัว

.

หรืออาจจะสังเกตุได้อีกมุมนึงได้ว่า

ระหว่างนาย A กำลังผ่อนชำระธนาคารอยู่

นาย A เอาชื่อเข้าในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี

เมื่อนาย A เอาบ้านไปขาย

นาย A ก็จะไม่เสียธุรกิจเฉพาะ

.

และไม่จำเป็นที่นาย A จะต้องไถ่ถอนก่อน

ถึงจะเริ่มนับระยะการถือครองของนาย A

เพราะในทางกฏหมาย

นาย A เป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โอนกรรมที่ดินแล้ว

.

ร่วมพูดคุยกันได้ที่

https://www.facebook.com/Ex.MatchingProperty/posts/pfbid02CqVFTUaKgmrdozR1NBvQZpu9ejuJ1zThQVcizveFxbVZP9WBw2nJpSZkNU3kCSsXl

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)